วันเสาร์ที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

อุทยานแห่งชาติทองผาภูมิ

อุทยานแห่งชาติทองผาภูมิ


ลักษณะภูมิประเทศ
พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นเทือกเขาสลับซับซ้อน แนวเขาวางตัวในแนวทิศเหนือ-ใต้ เป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาตะนาวศรี มีพื้นที่ราบลุ่มเป็นจำนวนน้อย ความสูงของพื้นที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 100-1,249 เมตร มีเขาช้างเผือกซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกของพื้นที่เป็นยอดเขาสูงสุด สูง 1,249 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ยอดเขาที่สำคัญ ได้แก่ เขาช้างเผือก เขานิซา เขาพุถ่อง เขาด่าง เขาปาก ประตู เขาเลาะโล เขาประหนองโทคี เขาชะโลง ฯลฯ ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของลำห้วยต่างๆ เช่น ห้วยมาลัย ห้วยกบ ห้วยซ่าน ห้วยองค์พระ ห้วยปีคี ห้วยปากคอก ห้วยเจ็ดมิตร ฯลฯ โดยไหลลงสู่ที่ราบทิศตะวันออก ลงสู่เขื่อนเขาแหลม และลำน้ำอีกส่วนไหลลงสู่แม่น้ำแควน้อย

ลักษณะภูมิอากาศ
เป็นแบบมรสุมเมืองร้อน จึงได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงใต้ในช่วงฤดูฝน และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือในช่วงฤดูหนาว ฤดูร้อนเริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ถึงเมษายน ฤดูฝนเริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงกรกฎาคม ฤดูหนาวเริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนถึงมกราคม

พืชพันธุ์และสัตว์ป่า
อุทยานแห่งชาติทองผาภูมิเป็นพื้นที่ส่วนหนึ่งของผืนป่าตะวันตกที่คงความสมบูรณ์ตามธรรมชาติ สามารถจำแนกประเภทแบ่งออกได้เป็น 4 ประเภท ได้แก่
1) ป่าดิบชื้น มีพันธุ์ไม้ที่สำคัญ ได้แก่ ตะเคียน ยางขาว ยางยูง ไก่เขียว เคี่ยม กันเกรา จำปาป่า มะหาด เนียง พืชพื้นล่างมีพวก หวาย เฟิน เตย และปาล์ม

2) ป่าดิบแล้ง มีพันธุ์ไม้ที่สำคัญ ได้แก่ ยางขาว ยางแดง ตะเคียน ยมหอม จำปีป่า กระบาก มะม่วงป่า มะแฟน แดงดง มะไฟป่า สมพง พืชพื้นล่างมีพวก ปาล์ม ข่า และเฟินต่างๆ ฯลฯ

3) ป่าดิบเขา มีพันธุ์ไม้ที่สำคัญ ได้แก่ ก่อชนิดต่างๆ กำลังเสือโคร่ง มณฑาป่า พระเจ้าห้าพระองค์ กำยาน อบเชย ทะโล้ พืชพื้นล่างได้แก่ มอส เฟินต่างๆ

4) ป่าเบญจพรรณ พบมากที่สุด มีพันธุ์ไม้ที่สำคัญได้แก่ ประดู่ แดง ตะแบก เสลา ส้าน มะค่าโมง อินทนิล ตุ้มเต๋น ตะคร้อ ตะคร่ำ กระพี้เขาควาย ขะเจ๊าะ มะเกลือ กาสามปีก สมอพิเภก กระบก มะกอก พืชพื้นล่างมีพวก ไผ่ไร่ ไผ่ซาง ไผ่บง ไผ่ข้าวหลาม ไผ่รวก และพืชพวกไม้หนาม เป็นต้น

อุทยานแห่งชาติทองผาภูมิเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าเป็นจำนวนมาก เนื่องจากป่าเป็นผืนเดียวกันกับประเทศพม่า จึงมีการย้ายถิ่นฐานไปมาอยู่เป็นประจำ และเนื่องจากไม่มีราษฎรอยู่ในพื้นที่ป่ามากนักจึงทำให้สัตว์ป่าไม่ถูกรบกวน ที่พบเห็นเป็นประจำได้แก่ ช้างป่า เลียงผา กวาง เก้ง กระจง หมูป่า หมี ลิง ค่าง บ่าง ชะนี อีเห็น ชะมด เสือปลา เสือลายเมฆ เสือโคร่ง หมีคน หมีควาย กระรอกบิน กระแต หนูหริ่ง พังพอน ค้างคาว กระต่ายป่า แมวป่า หมาไน เม่น นกเงือก นกนางแอ่น เหยี่ยว นกกระสา นกอินทรีย์ นกฮูก นกปรอด นกแขวก นกเค้าแมว นกแสก นกกระปูด นกเอี้ยง นกกางเขน นกขมิ้น นกกระทาดง นกกวัก นกขุนทอง นกแซงแซว นกหัวขวาน นกดุเหว่า อีกา ไก่ป่า ตะกวด ตุ๊กแกป่า กิ้งก่าบิน จิ้งเหลน แย้ ตะขาบ แมงป่อง กิ้งกือ ทาก ปลิง ตะพาบน้ำ กบ เขียด คางคก อึ่งอ่าง ปลาเวียน ปลาซิว ปลาก้าง ปลาช่อน ปลาไหล ปลากระทิง ปลาตะเพียน ปลาหมอ ปลาแขยง และปลาชะโด เป็นต้น

การเดินทาง

1. โดยรถยนต์ส่วนตัวออกเดินทางจากกรุงเทพฯ ถึงตัวเมืองกาญจนบุรี ระยะทางประมาณ 123 กิโลเมตร จากตัวเมืองกาญจนบุรี ใช้ทางหลวงหมายเลข 323 สายกาญจนบุรี – ทองผาภูมิ ถึงตลาดอำเภอทองผาภูมิระยะทางประมาณ 141 กิโลเมตร จากตัวอำเภอทองผาภูมิ ใช้เส้นทางหมายเลข 3272 สายทองผาภูมิ – บ้านไร่-ปิล๊อก ถึงสามแยกบ้านไร่เลี้ยวซ้ายไปตาม เส้นทางคดเคี้ยวบนเขา ที่ทำการอุทยานแห่งชาติทองผาภูมิซึ่งจะตั้งอยู่ระหว่างหลักกิโลเมตรที่ 21 - 22 เป็นเส้นทางลาดยางตลอดสาย
2. โดยรถยนต์โดยสารประจำทาง ขึ้นรถจากสถานีขนส่งสายใต้ลงที่สถานีขนส่งจังหวัดกาญจนบุรีและต่อรถประจำทางสายกาญจนบุรี – ทองผาภูมิ ลงที่ตลาดอำเภอทองผาภูมิ จากนั้นต่อรถประจำทางสายทองผาภูมิ – บ้านอีต่อง
ก็จะถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติทองผาภูมิ
ข้อมูลจาก
http://www.weekendhobby.com/board/boat/shtml/6681.shtml

ทางรถไฟสายมรณะ

ทางรถไฟสายมรณะ หรือ ทางรถไฟสายพม่า ทางรถไฟสายนี้เริ่มต้นจากสถานีชุมทางหนองปลาดุก อำเภอบ้านโป่งจังหวัดราชบุรี ผ่านจังหวัดกาญจนบุรีและข้ามแม่น้ำแควใหญ่ โดยสะพานข้ามแม่น้ำแควไปทางทิศตะวันตกจนถึงด่านเจดีย์สามองค์ เพื่อให้ถึงปลายทางที่เมืองทันบูซายัด ประเทศพม่าทางรถไฟสายมรณะมีความยาวจากหนองปลาดุกถึงสถานีทันบูซายัดรวม 415 กิโลเมตร เป็นทางรถไฟอยู่ในเขตประเทศไทยประมาณ 303.95 กิโลเมตร และอยู่ในเขตพม่า 111.05 กิโลเมตร มีสถานีจำนวน 37 สถานี ทางรถไฟสายนี้สร้างขึ้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยใช้แรงงานเชลยศึกฝ่ายสัมพันธมิตรและกรรมกรชาวเอเชียที่กองทัพญี่ปุ่นเกณฑ์มาสร้าง เพื่อใช้เป็นเส้นทางยุทธศาสตร์ผ่านประเทศพม่า ปัจจุบันเส้นทางนี้ไปสุดปลายทางที่บ้านท่าเสาหรือ สถานีน้ำตก ระยะทางจากสถานีกาญจนบุรีถึงสถานีน้ำตกเป็นระยะทางประมาณ 77 กิโลเมตร การรถไฟแห่งประเทศไทย เปิดเดินรถบนเส้นทางนี้ทุกวันและจัดรถไฟขบวนพิเศษสายกรุงเทพฯ - น้ำตก ทุกวันเสาร์ อาทิตย์ และวันหยุดราชการ จุดที่นักท่องเที่ยวให้ความสนใจมากคือช่วงสะพานข้ามแม่น้ำแคว และช่วงโค้งมรณะหรือ ถ้ำกระแซะ ซึ่งเป็นสะพานโค้งเลียบแม่น้ำแควน้อยยาวประมาณ 400 เมตร





1.รถยนต์-ใช้ ถ.ปิ่นเกล้า-นครชัยศรี ข้ามสะพานพระปิ่นเกล้า แล้ววิ่งขึ้นทางคู่ขนานลอยฟ้าจากนั้นตรงไปเรื่อยๆจนถึงทางแยกไปอ.สามพราน จ.นครปฐม ให้ชิดขวาแล้วไปตาม ทางหลวงหมายเลข 4 ผ่าน อ.นครชัยศรี อ.เมือง จ. นครปฐม จนถึง กม.69 ให้เตรียมชิดซ้ายเพื่อขึ้นสะพานข้าม แยกไป ทาง อ. บ้านโป่ง จากนั้นใช้ทางหลวงหมายเลข 323 (ถ.แสงชูโต) ผ่านสามแยกกระจับ อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี เข้าสู่ จ.กาญจนบุรี ที่อ.มะกา อ.ท่าท่วง ไปจรถึง อ.เมือง รวมระยะทาง 129 กม.
-ใช้ทางหลวงหมายเลข 4 (ถ.เพชรเกษม) เริ่มจากบางแค ผ่าน อ้อมน้อย , อ้อมใหญ่ , อ.สามพราน , อ.นครชัยศรี ไปบรรจบกับเส้นทางที่ 1 หลังจาก อ.สามพราน ทั้งสองเส้นทางนี้ระยะทางใกล้เคียงกันแต่เส้นทางที่ 2 จะมีปัญหา
รถติดมากกว่า


2.รถโดยสาร รถโดยสารจากกรุงเทพฯ จะมีไปภึงเฉพาะที่ตัว อ.เมือง เท่านั้น ไม่มีไปถึงอำเภออื่นๆ รถปรับอากาศชั้น 1 ไปจอด ที่สี่แยกไฟแดงหน้าศาลหลักเมือง รถปรับอากาศชั้น 2 และรถธรรมดาจอดที่สถานีขนส่งกาญจนบุรี
- รถโดยสารปรับอากาศ ออกจากสถานีขนส่งสายใต้ รถปรับอากาศชั้นหนึ่ง ออกทุก 15 นาที ตั้งแต่เวลา 05.00-
22.30 น. รถปรับอากาศชั้นสองออกทุก 20 นาที ตั้งแต่เวลา 05.10-20.30 น. ใช้เวลาเดินทางประมาณ 2 ชั่วโมง
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 435-1200, 434-7192
- รถโดยสารธรรมดา ออกจากสถานีขนส่งสายใต้ทุก 15 นาที ตั้งแต่เวลา 04.00-20.00 น. ใช้เวลาเดินทาง ประมาณ 2 ชั่วโมง สอบถามรายละเอียดได้ที่ โทร. 434-5557
3.โดยรถไฟ

การเดินทางโดยรถไฟนับเป็นสเน่ห์ของการเดินทางอีกรูปแบบหนึ่ง เพียงแต่ต้องมีเวลามากและไม่รีบร้อนขึ้น รถไฟได้ที่สถานีบางกอกน้อย สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่สถานีรถไฟบางกอกน้อย โทร. 0 2411 3102 วันเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดราชการ มีรถไฟเที่ยวพิเศษ นำเที่ยวไปกลับภายในวันเดียว รายละเอียดสอบถามเพิ่ม เติมได้ที่การรถไฟแห่งประเทศไทย โทร. 0 2223 7010, 0 2223 7020 และ 1690 หรือที่เว็บไซต์ www.railway.co.th นอกจากนี้ยังมีรถไฟนำเที่ยวขบวนพิเศษที่ให้บริการเฉพาะวันหยุดหลาย รายการแต่ต้องติด ต่อ จองล่วงหน้า และต้องไปขึ้นรถที่สถานีรถไฟหัวลำโพง การเดินทางโดยรถไฟไปเที่ยว เมืองกาญจน์มีความ พิเศษต่าง จากที่อื่น คือเป็นทางรถไฟสายประวัติศาสตร์หรือเรียกกันว่าทาง รถไฟสายมรณะ หากมีโอกาสจึง ไมควรพลาดจะนั่ง รถไฟเที่ยวออกจาก สถานีรถไฟบางกอกน้อย วันละ 2 เที่ยว เวลา 07.40 น. และ 13.50 น. แวะจอดที่สถานกาญจนบุรีีสะพานข้ามแม่น้ำแคว ท่ากิเลน สถานีน้ำตก ใช้เวลาประมาณ 4 ชั่วโมงครึ่ง
ในตัวเมืองกาญจนบุรีแล้วมีพาหนะในตัวเมืองหลายอย่าง เช่นรถสองแถว รถมอเตอร์ไซค์รับจ้าง รถสามล้อเครื่อง สามล้อถีบ
1.รถสองแถววิ่งในเมืองมีรถสองแถววิ่งบริการทุกวันตั้งแต่เวลา 05.30-18.00น. ท่ารถอยู่ริม ถ. แสงชูโต ใกล้สี่ แยกไฟแดง ตรงข้าม รร. กาญจนานุเคราะห์ ค่ารถ 6 บาท ตลอดสาย
- สาย 1 ตลาด - สถ. อ. เมื่องกาญจน์-ตลาดชุกโดน รพ. พหลพลพยุหเสนา รร. วิสุทธรังษี - วัดท่าล้อ
- สาย 2 ตลาด - สุสานทหารสัมพันธมิตร (ดอนรัก) - ทางแยกเข้าสถานีรถไฟกาญจนบุรี - ทางแยกเข้าสพานข้ามแม่น้ำแควคาซเซิลมอลล์ - ขนส่งจังหวัดกาญจนบุรี (แยกแก่งเสี้ยน)
2.รถมอเตอร์ไซค์รับจ้าง มีคิวรถเป็นประจำนวนมากบริเวณสถานีขนส่ง จ. กาญจนบุรี และตามสถานที่ท่องเที่ยว ต่างๆ เช่น เชิงสะพานข้ามแม่น้ำแคว นอกจากนักท่องเที่ยวไกล ๆ ได้ ค่าบริจากสถานีขนส่งมีดังนี้
- ในตลาด   10-20 บาท
- สุสานทหารสัมพันธมิตร 10 บาท
- สะพานข้ามแม่น้ำแคว 20 บาท
- วัดถ้ำมังกรทอง  40 บาท
- ลาดหญ้า 50 บาท
- สุสานช่องไก่ 100 บาท
- ถ้ำเขาปูน 100 บาท
- ปราสาทเมืองสิงห์ 130 บาท
- เอราวัณ 200 บาท
3.รถสามล้อเครื่อง(ตุ๊กตุ๊ก) มีวิ่งบริเวณตลาด ตั้งแต่เวลา 06.00-24 น. ค่าบริการจะแพงกว่ามอเตอร์ไซค์รับจ้าง ประมาณ 10 - 20 บาท
4.รถสามล้อถีบมีวิ่งบริการทั่วไปในตลาด ตั้งแต่เวลา 08.00 - 20.00 น. นั่งได้ไม่เกินสองคนตัวอย่างราคาเหมา ไป สถานที่ท่องเที่ยวมีดังนี้
- สุสานทหารสัมพันธมิตร (ดอนรัก)  50-60 บาท
- สะพานข้ามแม่น้ำแคว 80-100 บาท
5.เหมารถมีรถสองแถวและรถกระบะให้เช่าเหมาพร้อมคนขับและน้ำมันรถ บริเวณสถานนีขนส่ง จ. กาญจนบุรี
(นั่งได้ 8- 10 คน) ค่าบริการมีดังนี้
- สุสานทหารสัมพันธ์มิตร (ดอนรัก)   30 บาท
- สะพานข้ามแม่น้ำแคว 50 บาท
- ลาดหญ้า 100 บาท
- เที่ยวแหล่งท่องเที่ยวในตัวประมาณ 5-8 แห่ง ราคา 500 - 700 บาท หรือวันละ 1000 บาท

นอกจากนี้ยังสามารถเหมาไปเที่ยวต่างอำเภอ ค่าบริการดังนี้- ปราสาทเมืองสิงห์ 180 บาท
- บ้านเก่า 200 บาท
- อ.ท่าม่วง 100 บาท
- อ. พนมทวน 150 บาท
- น้ำตกไทรโยคน้อย 400 บาท
- น้ำตกไทรโยคใหญ่ 600 บาท
- น้ำตกเอราวัณ 400 บาท
- อ.ทองผาภูมิ 800 บาท (เหมาเที่ยว วันละ 1.500 บาท)
- อ.สังขละบุรี 1.500 บาท (เหมาเที่ยววันละ 2.000 บาท)
- เที่ยวในเขต อ. ศรีสวัสดิ์ น้ำตกเอราวัณ เขื่อนศรีนครินทร์ ราคา 1.00 บาท
- เที่ยวน้ำตกไทรโยคใหญ่ ไทรโยคน้อย บ้านเก่า ปราสาทเมืองสิงห์ 10500 บาท

 ข้อมูลจาก
 http://www.siamsouth.com/smf/index.php?topic=9046.0
 http://www.bsgolfclub.com/travel/train.html
 http://www.paiduaykan.com/76_province/central/kanjanaburi/transporation.html

สะพานข้ามแม่น้ำแคว




สะพานข้ามแม่น้ำแคว   สะพานแห่งประวัติที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักทั้งคนไทยและชาวต่างชาติที่จังหวัดกาญจนบุรีแห่งนี้ มีประวัติและเรื่องราวสืบทอดกันมาเนิ่นนาน ให้ลูกหลานได้รำลึกถึงเรื่องราวของความโหดร้าย การสูญเสียที่ล้วนแล้วแต่เกิดมาจากสงครามทั้งสิ้น

สะพานที่มีความยิ่งใหญ่ในเรื่องราวของประวัติความเป็นมาแห่งนี้เริ่มขึ้นเมื่อสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นช่วงของสงครามมหาเอเชียบูรพา สะพานและทางรถไฟสายนี้เป็นเส้นทางที่กองทัพทหารญี่ปุ่นสร้างขึ้นเพื่อให้เป็นเส้นทางเชื่อมต่อไปยังประเทศพม่า โดยใช้แรงงานจากเฉลยศึกของฝ่ายสัมพันธมิตรจากอังกฤษ อเมริกัน ออสเตรเลีย ฮอลันดา และนิวซีแลนด์ โดยประมาณ ๖๑,๗๐๐ คน ยังไม่รวมถึงจำนวนของกรรมกรที่เป็นชาวจีน ญวน ชวา มลายู พม่า อินเดียและคนไทย

หลายหมื่นชีวิตต้องจบสิ้นลงบนเส้นทางสายนี้เนื่องมาจากความยากลำบากทั้งจากธรรมชาติเอง ความเหน็ดเหนื่อย การขาดแคลนอาหาร จนนำไปสู่โรคภัยไข้เจ็บ และความโหดร้ายทารุณจากภาวะของสงคราม ว่ากันว่ามีการเปรียบเทียบหนึ่งไม้หมอนของทางรถไฟสายมรณะคือหนึ่งชีวิตที่ต้องแลก

สะพานข้ามแม่น้ำแควที่เป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางรถไฟสายนี้ใช้เวลาในการสร้างแค่เพียง 1 เดือนเท่านั้น โดยแรงงานคนทั้งหมด ตอนกลางสะพานจะสร้างด้วยเหล็กจากมลายูเป็นชิ้นๆมาประกอบเข้าด้วยกัน โดยแบ่งเป็นช่วงทั้งหมด11 ช่วง ในส่วนหัวและท้ายของสะพานสร้างจากโครงไม้ สะพานมีความยาวทั้งหมดประมาณ 300 เมตร แต่ในปัจจุบันสะพานข้ามแม่น้ำแควได้มีการปรับปรุงใหม่หลักจากที่สะพานแห่งนี้เกิดการชำรุดจากการถูกโจมตีทางอากาศของทหารฝ่ายสัมพันธมิตรนั่นเอง เราสามารถขึ้นไปเดินดูความสวยงามบนสะพานพานแห่งนี้ได้ด้วย และจะมีจุดพักเป็นช่วงๆให้เราได้หยุดดูรถไฟวิ่งผ่านเราไปอย่างใกล้ชิดจนแทบจะลืมหายใจเวลาที่รถไฟวิ่งด้วยความเร็วห่างตัวไปไม่กี่คืบเท่านั้น และเพื่อระลึกถึงสะพานข้ามแม่น้ำแควและรถไฟสายมรณะเส้นนี้ ในทุกปีจะมีการจัดงาน งานสัปดาห์สะพานข้ามแม่น้ำแคว ขึ้นในช่วงปลายเดือนพฤศจิกายนถึงช่วงต้นเดือนธันวาคม ซึ่งจะมีการแสดงนิทรรศการในทางประวัติศาสตร์ โบราณคดี การแสดงพื้นบ้าน การออกร้านจำหน่ายสินค้าพื้นเมือง และการแสดง แสง สี เสียงอย่างสวยงามตระการตา

การเดินทางไปสะพานข้ามแม่น้ำแควสะพานข้ามแม่น้ำแคว อยู่ที่ตำบลท่ามะขาม ห่างจากตัวเมืองกาญจนบุรีไปทางทิศเหนือตามทางหลวงหมายเลข ๓๒๓ ประมาณ ๔ กิโลเมตร แยกซ้ายประมาณ ๘๗๐ เมตร

สามารถใช้บริการรถรางนั่งชมเส้นทางรถไฟทุกวัน มีบริการตั้งแต่เวลา ๘.๐๐ -๑๘.๓๐ น. ค่าบริการท่านละ ๒๐ บาท รอบละ ๒๕ นาที

 ขอบคุณรูปภาพจาก http://www.pingplaleeresort.com/articles

วันพุธที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2555

หาดสวนสน บ้านแพ ระยอง

หาดสวนสน จังหวัดระยอง  อยู่ในเขตตำบลบ้านเพ ออกมาประมาณ 2 กิโลเมตร เป็นหาดทรายที่มีความเป็นธรรมชาติแห่งหนึ่ง มีบังกโล บ้านเช่าร้านอาหาร อุปกรณ์การเล่นน้ำไว้คอยบริการนักท่องเที่ยวมากมาย เหมาะต่อการไปผักผ่อนเป็นครอบครัว













วันอาทิตย์ที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2555

พระมหาธาตุแก่นนคร

ได้มาเยือนจังหวัดขอนแก่น ต้องมาไหว้พระมหาธาตุแก่นนคร ไม่อย่างนั้นก็เหมือนมาไม่ถึงขอนแก่น




วันจันทร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

พิสูจน์รักแท้ที่ภูกระดึง

   ถึงวันวาเลนไทน์แล้วเชื่อว่าคู่รักหลายๆคู่ก็กำลังมองหาสถานที่ท่องเที่ยวที่จะไปสวีตหวานกันขอแนะนำสถานที่พิสูจน์รัแท้(เห็นเค้าว่ากันอย่างนั้น) เพราะเส้นทางกว่าจะไปถึงยอดภูกระดึง ทางขึ้นค่อนข้างลำบากมาก ต้องคอยประคับประคอง ช่วยกันไป ได้ปลื้้มเลยล่ะ พอไปถึง  บรรยากาศสงบอยู่ท่ามกลางธรรมชาติที่สวยงามและโรแมนติก ทำให้หลายๆคู่รักกันมากขึ้น เพราะได้ลำบากได้สุขมาด้วยกัน  แต่บางคู่ก็เพราะไอ้ความลำบากนี่แระถึงขั้นแยกทางกันเลยก็มี นี่แระรักแท้จะพิสูจน์ได้ว่ารักกันจิงรึเปล่าก็ต้องดูตอนที่ลำบากนี่แระ เพราะการจะใช้ชีวิตคู่ร่วมกันมันมันต้องถ้อยทีถ้อยอาศัย และร่วมทุกข์ร่วมสุขไปด้วยกัน
   ไหนๆก็เกริ่นมาพอสมควรแล้ว วาเลนไทป์นี้ถ้าใครคิดจะไปเที่ยวภูกระดึง ก็ต้องมาดูประวัติของภูกระดึงก่อนจะได้เที่ยวได้สนุก
   ตามตำนานกล่าวไว้ว่ามีพรานป่าผู้หนึ่งได้พยายามล่ากระทิงซึ่งหลบหนีไปยังยอดเขาลูกหนึ่งในตำบลศรีฐาน (ปัจจุบันอยู่ในอำเภอภูกระดึง) ซึ่งเป็นภูเขาที่ไม่เคยมีใครขึ้นมาก่อน เมื่อนายพรานได้ตามกระทิงขึ้นไปบนยอดเขาแห่งนั้น ก็ได้พบว่าพื้นที่บนภูเขาลูกนั้น เต็มไปด้วยพื้นที่ราบกว้างใหญ่สวยงาม เต็มไปด้วยป่าสน พรรณไม้ และสัตว์ป่านานาชนิด มนุษย์จึงรู้จักภูกระดึงแต่นั้นเป็นต้นมา
ภูกระดึงเป็นที่รู้จักกันมาตั้งแต่ในสมัยสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 มีปรากฏเป็นหลักฐานเมื่อสมุหเทศาภิบาล (พระเจ้าวรวงศ์เธอกรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม) ได้ทำรายงานสภาพภูมิศาสตร์เสนอต่อกระทรวงมหาดไทยในปี พ.ศ. 2486 ทางราชการได้ออกพระราชกฤษฎีกาป่าสงวนแห่งชาติ กรมป่าไม้จึงได้เริ่มดำเนินการสำรวจเพื่อจัดตั้งอุทยานแห่งชาติขึ้นที่ภูกระดึง จังหวัดเลย เป็นแห่งแรก แต่เนื่องจากขาดแคลนงบประมาณและเจ้าหน้าที่จึงใด้ดำเนินการไปเพียงเล็กน้อยและหยุดไป
เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2502 คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้กำหนดป่าในท้องที่จังหวัดต่างๆรวม 14 แห่งเป็นอุทยานแห่งชาติเพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติเอาไว้เป็นการถาวรเพื่อประโยชน์ส่วนรวม กรมป่าไม้จึงได้เสนอจัดตั้งป่าภูกระดึงให้เป็นอุทยานแห่งชาติตามความในมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 โดยได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดป่าภูกระดึงในท้องที่ตำบลศรีฐาน กิ่งอำเภอภูกระดึง อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย เป็นอุทยานแห่งชาติ มีเนื้อที่ทั้งสิ้น 217,581 ไร่ นับเป็นอุทยานแห่งชาติแห่งที่ 2 ของประเทศ ในวันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2520 คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้ดำเนินการเพิกถอนเขตอุทยานแห่งชาติในบริเวณที่กองทัพอากาศขอใช้ประโยชน์ตั้งเป็นสถานีถ่ายทอดโทรคมนาคมเพื่อประโยชน์ในราชการทหารมีเนื้อที่ประมาณ 5 ไร่ ทางกรมป่าไม้จึงได้ดำเนินการขอเพิกถอนพื้นที่ดินดังกล่าวในปี พ.ศ. 2521 ปัจจุบันอุทยานแห่งชาติภูกระดึงมีเนื้อที่อยู่ประมาณ 217,576.25 ไร่

 ศัพท์มูลวิทยา

คำว่า "ภูกระดึง" มาจากคำว่า ภู แปลว่า ภูเขา และ กระดึง แปลว่า กระดิ่ง เป็นภาษาพื้นเมืองของจังหวัดเลย ด้วยเหตุนี้ ภูกระดึง จึงอาจแปลได้ว่า ระฆังใหญ่ ชื่อนี้มาจากเรื่องเล่าที่ว่าในวันพระชาวบ้านมักได้ยินเสียงกระดิ่งหรือระฆังจากภูเขาลูกนี้เสมอ เล่ากันว่าเป็นระฆังของพระอินทร์ ส่วนอีกข้อสันนิษฐานหนึ่งคือในบริเวณบางส่วนของยอดเขาหากเดินหนักๆหรือใช้ไม้กระทุ้งก็จะมีเสียงก้องคล้ายระฆังซึ่งเกิดจากโพรงข้างใต้ จึงได้รับการตั้งชื่อว่า "ภูกระดึง"
   
ลักษณะภูมิประเทศ
สภาพทั่วไปของอุทยานแห่งชาติภูกระดึง เป็นภูเขาหินทรายยอดตัดอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของที่ราบสูงโคราช ใกล้กับด้านลาดทิศตะวันออกของเทือกเขาเพชรบูรณ์ ลักษณะโครงสร้างทางธรณีของภูกระดึงเกิดขึ้นในมหายุค Mesozoic เป็นหินในชุดโคราช ประกอบด้วยชั้นหินหมวดหินภูพานหมวดหินเสาขัว หมวดหินพระวิหาร และหมวดหินภูกระดึง พื้นที่ส่วนใหญ่ของภูเขาอยู่ที่ความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางระหว่าง 400-1,200 เมตร มีพื้นที่ราบบนยอดเขากว้างใหญ่คล้ายรูปใบบอน ประกอบด้วยเนินเตี้ยๆ ยอดสูงสุดคือ บริเวณคอกเมย สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,316 เมตร สภาพพื้นที่ราบบนยอดภูกระดึงมีส่วนสูงอยู่ทางด้านตะวันตกและตะวันออกเฉียงใต้ พื้นที่ค่อยๆ ลาดเทลงมาทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ทำให้ลำธารสายต่างๆ ที่เกิดจากแหล่งน้ำบนภูเขาไหลไปรวมกันทางด้านนี้ เป็นแหล่งต้นน้ำของลำน้ำพอง ซึ่งหล่อเลี้ยงเขื่อนอุบลรัตน์และเขื่อนหนองหวาย ในจังหวัดขอนแก่น


ลักษณะภูมิอากาศ
ภูมิอากาศของอุทยานแห่งชาติภูกระดึงบริเวณที่ระดับต่ำตามเชิงเขา มีสภาพโดยทั่วไปใกล้เคียงกับบริเวณอื่นๆ ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้และมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ฤดูฝนเริ่มตั้งแต่เดือนเมษายนถึงเดือนตุลาคม ฝนตกชุกที่สุดระหว่างเดือนสิงหาคม-กันยายน อุณหภูมิเฉลี่ยรายปี 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุดในเดือนมกราคม และอุณหภูมิสูงสุดในเดือนเมษายน สภาพอากาศทั่วไปบนยอดภูกระดึง แตกต่างจากสภาพอากาศในที่ราบต่ำเป็นอย่างมาก โดยปริมาณน้ำฝนจะเพิ่มขึ้นอีกประมาณไม่ต่ำกว่าร้อยละ 30 ของปริมาณน้ำฝนบนที่ต่ำ เนื่องจากอิทธิพลของเมฆ/หมอกที่ปกคลุมยอดภูกระดึงเป็นเนืองนิจ ในช่วงเดือนธันวาคม-มกราคมอุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ยระหว่าง 0-10 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ยระหว่าง 21-24 องศาเซลเซียส ส่วนในฤดูร้อนระหว่างเดือนมีนาคม-เมษายน อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ยระหว่าง 12-19 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ยระหว่าง 23-30 องศาเซลเซียส อากาศบนยอดภูกระดึงมักจะแปรปรวน มีเมฆหมอก ลอยต่ำปกคลุมบ่อยครั้ง อากาศจึงค่อนข้างเย็นตลอดปี

ในช่วงฤดูฝน มักเกิดภัยธรรมชาติ เช่น เกิดการพังทะลายของภูเขาและมีน้ำป่า ทางอุทยานแห่งชาติจึงกำหนดให้ปิด-เปิดการท่องเที่ยวเฉพาะบนยอดเขาภูกระดึง เพื่อความปลอดภัยของนักท่องเที่ยว และให้สภาพธรรมชาติและสภาพแวดล้อมได้มีการพักฟื้นตัว หลังจากนักท่องเที่ยวไปเยี่ยมชมอย่างมากในแต่ละปี ดังนี้

ปิดฤดูการท่องเที่ยว ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน - 30 กันยายน ของทุกปี
เปิดฤดูการท่องเที่ยว ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม - 31 พฤษภาคม ของทุกปี


พืชพันธุ์และสัตว์ป่า
สังคมพืชของภูกระดึงเป็นป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์ที่สุดป่าหนึ่ง มีทั้งป่าผลัดใบ และป่าดงดิบ ที่ระดับความสูงต่างๆ จำแนกออกได้เป็น

ป่าเต็งรัง พบบนที่ราบเชิงเขาและบนที่ลาดชันจนถึงระดับความสูงจากระดับน้ำทะเล ประมาณ 600 เมตร ประกอบด้วยพันธุ์ไม้ที่สำคัญ ได้แก่ เต็ง รัง เหียง พลวง กราด รกฟ้า อ้อยช้าง กว้าว มะกอกเลื่อม มะค่าแต้ ช้างน้าว ติ้วขน ยอป่า ฯลฯ พืชพื้นล่างประกอบด้วย หญ้าเพ็ก ขึ้นเป็นกอหนาแน่น แทรกด้วยไม้พุ่มและพืชล้มลุก

ป่าเบญจพรรณ พบตั้งแต่บนพื้นที่ราบเชิงเขาและที่ลาดชันตามไหล่เขารอบภูกระดึง จนถึงระดับความสูงจากน้ำทะเลประมาณ 950 เมตร พันธุ์ไม้ที่สำคัญได้แก่ แดง ประดู่ป่า กระบก ตะแบกเลือด ยมหิน มะกอก งิ้วป่า แสมสาร มะค่าโมง ตะคร้ำ สมอไทย สำโรง โมกมัน ฯลฯ พืชพื้นล่างประกอบด้วยหญ้าและกอไผ่ของไผ่รวก ไผ่ไร่ ไผ่หลวง ไผ่ซางหม่น ไม้พุ่ม เช่น หนามคณฑา กะตังใบ สังกรณี ไผ่หวานบ้าน ฯลฯ ไม้เถา เช่น แก้วมือไว สายหยุด นมวัว ตีนตั่ง หนอนตายหยาก กลอย ฯลฯ พืชล้มลุก เช่น บุกใหญ่ ผักปราบ แห้วกระต่าย ฯลฯ พืชกาฝากและอิงอาศัย เช่น ข้าวก่ำนกยูง ดอกดิน ชายผ้าสีดา เป็นต้น

ป่าดิบแล้ง พบตามฝั่งลำธารของหุบเขาที่ชุ่มชื้นทางทิศตะวันออก ตะวันออกเฉียงเหนือ และทิศตะวันตก ตั้งแต่เชิงเขาจนถึงระดับความสูงประมาณ 950 เมตรจากระดับน้ำทะเล พันธุ์ไม้สำคัญได้แก่ ก่อ ตะเคียนทอง ยางแดง ยมหอม ตะแบกเปลือกบาง หว้า มะม่วงป่า สัตตบรรณ มะหาด คอแลน เชียด ฯลฯ พืชพื้นล่างแน่น เป็นพวกไม้พุ่ม ไม้เถา เช่น สร้อยอินทนิล กระทงลาย เถามวกขาว เล็บมือนาง กระไดลิง ฯลฯ พืชล้มลุก เช่น ข่าคม ก้ามกุ้ง ฯลฯ หวายและเฟินหลายชนิด

ป่าดิบเขา พบตั้งแต่ระดับ 1,000 เมตรจากระดับน้ำทะเลขึ้นไป ทางทิศเหนือและทิศตะวันตกเฉียงเหนือ พันธุ์ไม้ที่สำคัญได้แก่ ก่วมแดง ทะโล้ สนสามพันปี พะอง จำปีป่า พญาไม้ ก่อเดือย ก่อหนาม ก่อหมู ส้านเขา รัก เหมือดคนดง เฉียงพร้านางแอ พะวา เดื่อหูกวาง ฯลฯ พืชพื้นล่างประกอบด้วยไม้พุ่ม เช่น กุหลาบแดง มือพระนารายณ์ ฮอมคำ จ๊าฮ่อม ฯลฯ ตามหน้าผาริมขอบภูพบปาล์มต้นสูงขึ้นห่างๆ ได้แก่ ค้อดอย ไม้เถา เช่น กระจับเขา เครือเขาน้ำ แก้มขาว หนามไข่ปู ใบก้นปิด ย่านหูเสือ เป็นต้น

ป่าสนเขา พบเฉพาะบนที่ราบยอดภูกระดึงที่ระดับความสูงประมาณ 1,200-1,350 เมตรจากระดับน้ำทะเล พันธุ์ไม้ที่สำคัญ ได้แก่ สนสองใบ ก่อเตี้ย ทะโล้ สารภีดอย มะเขื่อเถื่อน รัก ฯลฯ พืชพื้นล่างประกอบด้วย สนทราย ส้มแปะ กุหลาบขาว เม้าแดง พวงตุ้มหู นางคำ ฯลฯ ตามลานหินมีพืชชั้นต่ำพวกไลเคน ประเภทแนบกับหินเป็นแผ่น และประเภทเป็นฟองเรียก ฟองหิน ปกคลุมทั่วไป นอกจากนี้จะพบเอื้องคำหิน ม้าวิ่ง และเขากวาง ซึ่งเป็นกล้วยไม้ที่ออกเป็นกอหนาแน่น พืชล้มลุก เช่น ดาวเรืองภู ว่านคางคก ต่างหูขาว เนียมดอกธูป แววมยุรา หญ้าข้าวก่ำขาว โสภา เทียนภู เปราะภู ดอกหรีด ขนนกยูง หญ้าเหลี่ยม น้ำเต้าพระฤาษี กูดเกี๊ยะ เป็นต้น บนพื้นดินที่ชุ่มแฉะ มอสจำพวกข้าวตอกฤาษีหลายชนิดขึ้นทับถมแน่น คล้ายผืนพรม บางแห่งมีพืชล้มลุกขนาดเล็กหลายชนิดขึ้นปะปนกันแน่น เช่น กระดุมเงิน สาหร่ายข้าวเหนียว ดุสิตา และหญ้าข้าวก่ำ

ภูกระดึง ได้ชื่อว่าเป็นแหล่งที่มีสัตว์ป่าอาศัยอยู่อย่างชุกชุม เนื่องจากลักษณะภูมิประเทศประกอบไปด้วยป่าไม้ ทุ่งหญ้าและลำธาร ซึ่งเป็นแหล่งอาหารที่อุดมสมบูรณ์ สัตว์ป่าภูกระดึงมีหลายชนิดที่พบเห็นทั่วไป ได้แก่ ช้างป่า เก้ง กวางป่า หมูป่า ลิงกัง ลิงลม บ่าง กระรอกหลากสี กระแต หนูหริ่งนาหางยาว ตุ่น เม่นหางพวง พังพอน อีเห็น เหยี่ยวรุ้ง นกเขาเปล้า นกเขาใหญ่ นกกระปูดใหญ่ นกเค้ากู่ นกตะขาบทุ่ง นกโพระดกคอสีฟ้า นกตีทอง นกหัวขวานสามนิ้วหลังทอง นกนางแอ่นสะโพกแดง นกเด้าดินสวน นกอุ้มบาตร์ นกขี้เถ้าใหญ่ นกกระทาทุ่ง นกพญาไฟใหญ่ นกกางเขนดง นกจาบดินอกลาย นกขมิ้นดง ตุ๊กแก จิ้งจกหางแบนเล็ก กิ้งก่าสวน จิ้งเหลนบ้าน เต่าเหลือง งูทางมะพร้าว งูลายสอบ้าน งูจงอาง งูเก่า งูเขียวหางไหม้ อึ่งอี๊ดหลังลาย เขียดหนอง คางคก กบหูใหญ่ ปาดแคระ และมีเต่าชนิดหนึ่งซึ่งหาได้ยาก คือ เต่าปูลู หรือ “เต่าหาง” เป็นเต่าที่หางยาว อาศัยอยู่ตามลำธารในป่าเขาระดับสูงของประเทศไทย กัมพูชา และ ลาว


                  เริ่มเดินทางขึ้นภูกระดึง จากตีนภู ถึงหลังแป ระยะทาง4.5 กิโลเมตร และเดินจากหลังแปไปถึงศูนย์บริการนักท่องเที่ยววังกวางอีก3.5 กิโลเมตร รวมระยะทาง 9 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินขึ้น 4-6 ชั่วโมง






                     อาหารอาหารที่ซำแฮกจานละ40บาทก็ไม่แพงนะคะ เพราะแม่ค้าเค้าก็ต้องจ้างลูกหาบ เอาวัตถุดิบต่างๆขึ้นไปค่ะ และอาหารอร่อยมากค่ะ



ถึงแล้วหลังแป ครั้งหนึ่งในชีวิตเราคือผู้พิชิตภูกระดึง

 

     
                                   เดินต่อไปอีก 3.5 กิโลเมตร เพื่อไปศูนย์บริการนักท่องเที่ยว




          มาถึงจุดบริการนักท่องเที่ยวเก็บข้าวของเสร็จไปเช่าจักรยาน ปั่นจักรยานไปดูพระอาทิตย์ตกที่ผาหมากดูก ราคาคันละ 30 บาทนั่งได้คนเดียวและขี่ไปถึงแค่ผาหมากดูกเท่านั้น ถ้าเหมาทั้งวันไปดูได้ทุกผาราคา 300 บาทต่อคันต่อคน

ถึงแล้ว วิวที่ผาหมากดูก




                                                         พระอาทิตย์ตกที่ผาหมากดูก


                                                   ไปดูพระอาทิตย์ขึ้นที่ผานกแอ่น

 

                                                                  ลานพระแก้ว


                                                                 
                                                                     ลานกางเต้นต์






การเดินทาง

รถยนต์
เดินทางโดยรถยนต์ สามารถเดินทางได้หลายเส้นทาง
1) เดินทางผ่านจังหวัดสระบุรี เพชรบูรณ์ อำเภอหล่มสัก หล่มเก่า ด่านซ้าย ภูเรือ และอำเภอเมืองเลย เลี้ยวเข้าทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 201 (เลย-ขอนแก่น) และเลี้ยวเข้าทางหลวงจังหวัดหมายเลข 2019 เข้าสู่อุทยานแห่งชาติภูกระดึง

2) ใช้เส้นทางผ่านจังหวัดสระบุรี นครราชสีมา จนถึงจังหวัดขอนแก่นเลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 201 ผ่านอำเภอภูผาม่าน และตำบลผานกเค้า เข้าสู่อุทยานแห่งชาติภูกระดึง

3) เดินทางผ่านจังหวัดสระบุรี อำเภอปากช่อง เลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 201 ผ่านจังหวัดชัยภูมิ อำเภอภูเขียว แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 ผ่านอำเภอชุมแพ จากนั้นเดินทางเช่นเดียวกับเส้นทางที่ 2


เครื่องบิน
เดินทางโดยเครื่องบิน โดยใช้เที่ยวบิน กรุงเทพฯ-ขอนแก่น กรุงเทพฯ-เลย กรุงเทพฯ-อุดรธานี ของสายการบินต่างๆ ได้ทุกวัน สอบถามข้อมูลเที่ยวบินและสายการบิน โทร. 0-2628-2000, 0-2515-9999, 0-2267-2999 และ 1318


รถไฟ
เดินทางโดยรถไฟ ขึ้นรถไฟที่ที่สถานีรถไฟหัวลำโพงถึงสถานีรถไฟขอนแก่น ต่อรถโดยสารสายขอนแก่น-เลย ถึงอำเภอภูกระดึงแล้วต่อรถสองแถวเข้าอุทยานแห่งชาติภูกระดึง สอบถามข้อมูลรถไฟ โทร. 0-2225-1300 ต่อ 5201 ,0-2223-0341-3 หรือติดต่อสอบถามโดยตรงที่อุทยานแห่งชาติกระดึง โทร. 0-4287-1333, 0-4287-1458


รถโดยสารประจำทาง
เดินทางโดยรถโดยสารประจำทาง ขึ้นรถโดยสารที่สถานีขนส่งภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (หมอชิต 2) สายกรุงเทพ-เมืองเลย ลงรถที่ผานกเค้า หรือสถานีขนส่งอำเภอภูกระดึง แล้วต่อรถสองแถวเข้าอุทยานแห่งชาติภูกระดึง สอบถามข้อมูลรถโดยสาร โทร.0-2936-2852-66 อัตราค่าโดยสาร
รถปรับอากาศ VIP 24 ที่นั่ง ราคา 590 บาท
รถปรับอากาศ VIP 32 ที่นั่ง ราคา 449 บาท
รถปรับอากาศ ชั้น 1 ราคา 258 บาท
รถปรับอากาศ ชั้น 2 ราคา 280 บาท
ลงรถที่ผานกเค้า *หมายเหตุ -ต่อรถสองแถวจากผานกเค้า ถึงอุทยานแห่งชาติภูกระดึง ราคา 20 บาท/คน






วันอาทิตย์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

วัดโพธิ์

ถ้าใครมาเที่ยววัดพระแก้วแล้วก็อย่าลืมแวะมาเที่ยววัดโพธิ์นะคะ เพราะอยู่ใกล้ๆกัน
วัดพระเชตุพนในประวัติการสร้างตั้งแต่สมัยอยุธยา แต่ไม่ปรากฏหลักฐานเกี่ยวกับการสร้าง เดิมเรียกว่า "วัดโพธาราม" หรือ "วัดโพธิ์" ยกฐานะขึ้นเป็นพระอารามหลวงในสมัยกรุงธนบุรี ครั้งถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาวัดนี้ใหม่ใน พ.ศ. 2331 โดยทรงสร้างพระอุโบสถ พระระเบียง พระวิหาร ตลอดจนบูรณะของเดิม เมื่อแล้วเสร็จใน พ.ศ. 2344 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่า “วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาวาส” เป็นวัดประจำรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
นับจากนั้นวัดพระเชตุพนได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว และได้โปรดเกล้าฯ ให้จารึกสรรพตำราต่าง ๆ ลงบนแผ่นหินอ่อนประดิษฐ์ไว้ตามศาลารายต่าง ๆ ครั้งถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้แก้สร้อยนามพระอารามว่า “วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร”